ขันเงิน โมกุเม่ กาเน่ ลายไทยสลักดุน Mokume Gane bowl with Thai pattern punching technique

 

ขันเงิน โมกุเม่ กาเน่ ลายไทยสลักดุน
Mokume Gane bowl with Thai pattern punching technique

 

ขันเงินลายตาไม้จากเทคนิค โมกุเม่ กาเน่ (Mokume Gane) ผสมผสานเทคนิคสลักดุนของไทย

ผลงานนี้เกิดจากแรงบันดาลใจที่จะต้องการการผสมผสานเทคนิคที่หลากหลายของไทย และต่างชาติ  ด้วยความลงตัวระหว่างศาสตร์และศิลป์ของงานโลหะ จากญี่ปุ่น ที่เรียกว่า Mokume Gane ซึ่งเป็นเทคนิคดั้งเดิมในการทำดาบซามูไรญี่ปุ่น กับงานสลักดุนโดยช่างฝีมือของไทย สร้างความแปลกใหม่ให้กับผลิตภัณฑ์

ในต่างประเทศ ชิ้นงานลักษณะนี้ค่อนข้างจะมีราคาที่สูงมาก เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ซับซ้อน มีผู้ผลิตน้อยราย  เนื่องจากกระบวนการผลิตที่ยาก และมีโอกาสเสียหายสูงมาก  กระบวนการผลิตลายจะมีขั้นตอนมากกว่า 20 ขั้นตอน แต่หากชั้นลายเกิดความเสียหาย หรือ แตกแยกในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง  จะไม่สามารถซ่อมแซมได้เลย

 

แผนภาพแสดง กระบวนการผลิต และแนวคิดในการพัฒนา ขันเงิน โมกุเม่ กาเน่ ลายไทยสลักดุน

 

กระบวนการผลิตเริ่มต้นจาก การสร้างลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะจากโลหะเงินและทองแดงด้วยเทคนิค โมกุเม่ กาเน่ โดยทำการหลอม และรีดแผ่นโลหะเงิน เป็นแผ่นบางแล้วนำมาเรียงซ้อนกันเป็นชั้น สลับกับทองแดง จากนั้นจึงเข้ากระบวนการอัด และอบด้วยความร้อน ภายใต้ความดันสูง ทำให้โลหะติดกันตรงพื้นผิว เหมือนขนมชั้น โดยโลหะทั้งสองไม่ได้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปทุบลดขนาด และเจาะเพื่อที่จะสร้างลวดลายที่แต่ละชิ้นเป็นเอกลักษณ์เฉพาะไม่ซ้ำใคร  แล้วนำไปรีดเป็นแผ่นบาง และทำการขึ้นรูป เป็นขัน ด้วยเทคนิคการตีขึ้นรูปด้วยมือ จากนั้นจึงใช้การสร้างลวดลายโดยใช้การสลักดุนลวดลายไทยลงบนชิ้นงานอีกครั้งหนึ่ง

 

 

 

Please Login to Comment.

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.